มาเริ่มต้นเส้นทางของ Indie Game Developer กัน!

เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการเริ่มต้นและการพัฒนาเกมฉบับสาย Indie

บทความ

11 ธันวาคม 2567


หากคุณกดเข้ามาดูบทความนี้แล้ว แสดงว่าคุณกำลังสนใจในการสร้างเกมสินะ บทความนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับหนทางของการเป็น Indie Game Dev ที่อาจจะยาก แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด!!

ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า "Indie Game Developer" กันก่อน

Indie Game Developer คือนักพัฒนาเกมขนาดย่อม อาจจะทำเกมคนเดียว หรือร่วมทำกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก เรามักจะเห็น Indie Game Dev ได้มากมาย และผลงานของพวกเขาก็ไม่ใช่เล่นๆ เลย ตัวอย่างเช่น Undertale ของ Toby fox หรือ Stardew Valley ของ ConcernedApe พวกเขาได้สร้างสรรค์เกมและเผยแพร่สู่สาธารณะจนได้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก แม้จะมีกำลังคนที่ไม่เยอะมาก หรือทุนทรัพย์ที่ไม่มากเท่าบริษัททำเกมใหญ่ๆ แต่ก็สามารถสร้างเกมที่ดีและถูกใจคนทั่วโลกได้นั่นเอง

โดยการจะเป็น indie game dev นั้นเราจะต้องรู้ถึงความสามารถของตนเองก่อน เพราะคำว่า "Indie" ก็คือการที่ต้องทำคนเดียว หรือไม่ก็ทำกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งความสามารถหรือ Skills ต่างๆ ที่ควรจะมีเลยคือ..

  • เขียนโค้ดได้ จะเป็นภาษาอะไรก็ได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีเลย
  • มีพื้นฐานการวาดภาพประกอบ วาดตัวละคร หรือเราจะเรียกมันรวมๆ ว่าการทำ "Assets"
  • หากมีพื้นฐานด้านการทำเพลงเบื้องต้นก็จะดีมาก
  • สำคัญมากๆ ก็คือการ Design ทั้ง Game Design, Story Design (หรือ World Design) และอื่นๆ

เราอาจจะมีทั้งหมดนี้ หรือแค่บางส่วนก็ได้ เพราะถ้าเราทำเป็นกลุ่ม อย่างน้อยแต่ละคนก็อาจจะมีความสามารถในด้านนั้นๆ หรือหากทำคนเดียวเลย เราก็สามารถหา assets จาก internet ก็ได้เช่นกัน

หลังจากนั้น เราควรจะเรียนรู้เครื่องมือสำหรับการทำเกมหรือที่เราเรียกกันว่า "Game Engine" ทำความเข้าใจเครื่องมือต่างๆ ของ Game Engine และเรียนรู้ภาษาสำหรับใช้เขียน Script เกม ซึ่งแต่ละ Game Engine ก็จะใช้ภาษาที่ไม่เหมือนกัน เช่น Unity จะใช้ C#, Unreal Engine จะใช้ C++ และ GameMaker ที่ใช้ภาษา GameMaker หรือ GML นั่นเอง

ต่อมาจะเป็นกระบวนการทำเกม ซึ่งเราสามารถแยกออกมาเป็นกระบวนการย่อยๆ ได้ดังนี้

Pre Production

คือการสร้าง Concept เกม และวางแผนว่าเกมของเราควรจะมีหน้าตาอย่างไร เกมเพลย์แบบไหน เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร มีตัวละคร และฉากอะไรบ้าง นี้คือสิ่งที่เราจะต้องกำหนดก่อนจะเข้าไปสู่ขั้นตอน Production และเมื่อเราได้กำหนดรายละเอียดของเกมเราแล้ว เราก็สามารถทำ Game Prototype ซึ่งเป็นการสร้างเกมขึ้นมาโดยในเกมจะมีแค่เกมเพลย์เบื้องต้น และยังไม่ได้ใส่ Assets อะไรลงไป ซึ่งที่ต้องทำเกมเวอร์ชั่น Prototype เพราะเราจะต้องเล่นมันเพื่อทดสอบว่าเกมของเราสนุกไหม และเป็นไปตามที่เราออกแบบมาไหม ถ้าทุกอย่างโอเคแล้วก็ไปขั้นตอนต่อไปได้เลย

Production

เป็นขั้นตอนที่เราจะเริ่มสร้าง Game Assets จริงๆ ที่เราเคยออกแบบในขั้นตอน Pre Production ตั้งแต่โมเดลตัวละคร โมเดลประกอบฉาก หากเป็นเกม 3D หรือรูป Sprite ตัวละคร, Background และฉากต่างๆ สำหรับเกม 2D นอกจากนี้ก็ยังมีพวกเพลงประกอบ เสียงพากย์และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเราสร้าง Assets เกมเรียบร้อยก็นำ assets เหล่านี้มาใส่ในเกมของเราได้เลย จากนั้นก็ทำการทดสอบเกม ว่าเล่นได้ไหม ไม่มีปัญหาใช่ไหม ถ้าทุกอย่างโอเคแล้วก็ไปขั้นตอนสุดท้ายได้เลย

Post Production

ช่วงสุดท้ายที่เราจะทดสอบคุณภาพเกมว่ามีบัค หรือข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นไหม ถ้ามีก็ต้องแก้ไขบัคหรือข้อผิดพลาดเหล่านั้น นอกจากนี้ก็คือการทำ localization คืองานแปลภาษาหากอยากนำเกมไปเปิดให้เล่นในประเทศอื่นๆ ด้วย

เมื่อทุกขั้นตอนเสร็จสิ้นก็สามารถส่งเกมของเราไปขายหรือแจกจ่ายให้คนอื่นได้เข้ามาเล่นเกมของเราได้เลย ที่เหลือก็จะเป็นกระบวนการต่างๆ เช่น การทำการตลาด, การขายเกมหรือโปรโมตเกม, การประชาสัมพันธ์เกมของเราให้คนอื่นๆ ได้รู้จัก เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเราได้ทำเกมและส่งออกเกมของเราสู่ชาวโลกเป็นที่เรียบร้อย!!

เนื้อหาทั้งหมดข้างต้น ถือว่าเป็นเนื้อหาที่จะอธิบายว่าเราจะเริ่มสร้างเกมอย่างไร หากเป็นพวกรายละเอียดที่ลึกกว่านี้ ผมอาจจะทำบทความเพิ่มเติมในอนาคต อาจจะเจอศัพท์แปลกๆ เช่น sprite, tilemap, 2d, 3d, localization อะไรพวกนี้ก็ลองศึกษาเพิ่มเติมได้เลยนะ


ส่งต่อเนื้อหาของเรา :

facebooktwitterlinkedinblueskythreads

เกี่ยวกับเว็บไซต์

เว็บไซต์รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร บทความ บล็อก และข้อมูลต่างๆ เช่น ผลงานที่ทำ ของผมเอง สามารถรับชมหน้าต่างๆ ที่ผมได้เตรียมเอาไว้ได้เลยนะครับ 😊

support_me_on_kofi_beige

โซเชียลมีเดีย

facebooktwitteryoutubeblueskythreads

© 2024 Koon2120. All rights reserved.

วงแหวนเว็บ